เอสโตรเจน ธรรมชาติ VS ฮอร์โมนทดแทน ต่างกันอย่างไร?
ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน ต่างจากฮอร์โมนตามธรรมชาติยังไง?
อย่างที่รู้กันค่ะว่า ความสาวของผู้หญิง ขับเคลื่อนด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่ออายุมากขึ้นรังไข่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงและหยุดผลิตในที่สุด ส่งผลให้ “เข้าสู่วัยทอง” และมีอาการต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น ร้อนวูบวาบ นอนหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกอารมณ์สวิงหงุดหงิดง่าย ช่องคลอดแห้ง ในบางรายที่มีอาการรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต อาจต้องพึ่งการให้ฮอร์โมนทดแทน
ฮอร์โมนทดแทน คือ การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ (Bio-identical Hormone) ที่มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นอาจให้ร่วมกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวหนึ่งคือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนที่ใช้มากที่สุด คือ ชนิดรับประทาน เนื่องจากสะดวกและราคาถูก ซึ่งหลังจากทาน จะถูกดูดซึมผ่านไปยังตับก่อน จึงจะผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ
ด้วยเหตุผลนี้จึงอาจทำให้เกิดผลเสียในผู้ที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนบางกลุ่ม เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนสังเคราะห์ จะมีผลต่อตับมากกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนตามธรรมชาติ และอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกจากโพรงมดลูก เจ็บเต้านม บวมน้ำ เป็นต้น
ดังนั้น การดูแลรังไข่ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ จะช่วยให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนตามธรรมชาติของร่างกายได้นานขึ้น ความสาวจะอยู่กับเราได้ยาวนานขึ้น เข้าสู่วัยทองช้าลง
เริ่มดูแลรังไข่ด้วย SolveFerti W
วิตามินรวม 14 ชนิด ช่วยบำรุงรังไข่สำหรับผู้หญิงวัย 30+ ไปจนถึงผู้หญิงวัยทอง