เสียงเข่าดังก๊อบแกร๊บ แต่ไม่ปวดเข่าปกติมั๊ย?
เคล็ดลับ Solve it เราจะมาไขข้อสงสัยกันว่า ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มักจะมี เข่าเสียงดังกร๊อบแกร๊บ เวลาที่เคลื่อนไหวอย่างเช่น เสียงจากเข่าขณะลุกเดินหรือยืดเหยียดขา เสียงจากข้อเท้าเวลาขยับข้อเท้า มันก็จะ เข่าเสียงดังกร๊อบแกร๊บ ๆ และถ้าเกิดว่านอกจากเสียง กร๊อปแกร๊บ แล้ว เริ่มมีอาการปวดเข่าร่วมด้วย เป็นสัญญาณเตือน ว่าเสี่ยงต่ออาการข้อเข่าเสื่อม
เข่าเสียงดังกร๊อบแกร๊บ เวลาที่เราขยับหรือเปลี่ยนท่าเวลาที่นั่งอยู่ท่าเดิมนานๆ แล้วเป็นเฉพาะบางท่าทาง และไม่มีอาการปวดใดๆ แบบนี้ ไม่อันตราย อาจจะเกิดจากการเหยียด งอ ทำให้กระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อรอบๆข้อเข่ามีการขยับเข้าที่ แต่! ถ้า เสียงดังกร๊อบๆแกร๊บๆ มาพร้อมอาการปวด และนับวันยิ่งปวดมากขึ้นเรื่อยๆ อันนี้ เป็นสัญญาณอันตราย หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจก่อให้เกิดปัญหามากขึ้นเรื่อยๆในอนาคตได้ เข่าเสียงดังกร๊อบแกร๊บ ที่มาพร้อมอาการปวด เป็นสัญญาณบอกดังนี้
- หมอนรองกระดูกฉีกขาด เนื่องจากอุบัติเหตุต่างๆ ก็อาจทำให้เกิดเสียงดังเมื่อมีการขยับข้อเข่าได้
- เข่าเสื่อม เกิดจากกระดูกอ่อนมีการสึกกร่อนจนพื้นผิวข้อขรุขระหรือมีน้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่าน้อยลง ส่งผลให้เกิดการกระแทกระหว่างผิวข้อ ทำให้เกิดเสียงขึ้น และเกิดการอักเสบ
ข้อเข่า ของเราประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และ กระดูกสะบ้า ยึดติดกันด้วยเส้นเอ็น ผิวสัมผัสของกระดูกทั้งสามจะมีเยื่อบุข้อ มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึก และมี กระดูกอ่อนค่อนข้างหนาคลุมอยู่ กระดูกอ่อนที่ว่านี้มีลักษณะเรียบ มันวาวและผิวลื่น เพื่อคอยรับแรงกระแทก ที่เกิดขึ้นขณะมีการเคลื่อนไหวข้อและทำให้รูปร่างกระดูกพอดีกัน ที่สำคัญบริเวณข้อเข่าจะมีน้ำหล่อเลี้ยง ที่ช่วยใน การหล่อลื่นและถ่ายน้ำหนัก ทีนี้ ถ้าหากกระดูกอ่อนมีการ สึกกร่อนจนพื้นผิวข้อขรุขระหรือมี น้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่าน้อยลง ส่งผลให้เกิดการกระแทกระหว่างผิวข้อ ทำให้ เกิดเสียงขึ้น และ เกิดการอักเสบจึงทำให้มีอาการปวดร่วมด้วย หรือที่เรียกว่า ภาวะข้อเข่าเสื่อม
ภาวะข้อเข่าเสื่อม ถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ พบมากใน วัยกลางคนและผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบว่าเมื่ออายุ 40 ปีก็จะเริ่มมีข้อเสื่อม และในคนอายุ 60 ปี พบว่าเป็น ข้อเข่าเสื่อม ได้มากถึงร้อยละ 40 ซึ่ง ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า เลยค่ะ ผู้ที่มี ภาวะข้อเข่าเสื่อม ถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาการก็จะดำเนินไปเรื่อยๆ ก็จะมีอาการปวดที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆก็ทำได้ไม่สะดวก
หลายๆคนที่อายุยังไม่เยอะก็สามารถ เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม เพราะถึงแม้อายุจะยังไม่เยอะ แต่ถ้ามีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน ก็มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมได้ โดยพบว่า น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัม ขณะเดียวกันเซลล์ไขมันที่มากเกินไปจะมีผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์กระดูก ส่งผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น
วิธีการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม คือ การหลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่ามากเกินความจำเป็น เรารู้แล้วว่ากิจกรรมที่เป็นสาเหตุให้ข้อเข่าต้องทำงานมากๆมีอะไรบ้าง หากเราสามารถหลีกเลี่ยงกิจกรรมเหล่านี้ได้บ้าง ก็จะช่วยยืดอายุเข่าของเราได้นานขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
- ควรหาเก้าอี้เตี้ยๆมานั่งแทนการนั่งยองๆ ถ้าเป็นไปได้
- ควรหาเก้าอี้สูงมานั่งแทนการยืนนานๆ
- ไม่ควรหิ้วของหนักๆ และเดินเป็นเวลานานๆ
- ควรหลีกเลี่ยงการขึ้น-ลงบันไดหลายๆ ชั้น
- การควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อที่ข้อเข่าจะได้ไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป
แต่สิ่งที่สำคัญกว่าการหลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่ามากเกินไปก็คือ การออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่ามีความแข็งแรง อยู่เสมอเพราะ กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วงพยุงข้อเข่า และถ่ายน้ำหนักจากข้อเข่าได้ดีกว่ากล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง ดังนั้น การเลือกวิธีการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้เหมาะสมกับวัยก็มีความสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น
- การวิ่งจ็อกกิ้ง การเต้นแอโรบิก หรือการเดินเร็วๆ ก็ถือว่าเป็น การออกกำลังกายที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยๆ หรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว (แต่สำหรับผู้วัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเริ่มเสี่ยงต่อการเป็น โรคข้อเข่าเสื่อม และไม่ได้ออกกำลังกายใดๆ เป็นประจำมาก่อนนั้น การออกกำลังกายโดยการวิ่งจ็อกกิ้ง การเต้นแอโรบิก หรือการเดินเร็วๆ ถึงแม้ว่า จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าได้ แต่ในระหว่างการออกกำลังกาย ข้อเข่าจะต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ดังนั้น การออกกำลังกายเองเหล่านี้ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้)
- การออกกำลังกายที่เหมาะสมในคนมีอายุวัยกลางคนขึ้นไป และไม่ได้ออกกำลังกายใดๆ เป็นประจำมาก่อน จึงควรเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักที่ข้อเข่ามากกว่าปกติแต่ยังสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าได้ เช่น การปั่นจักรยานอยู่กับที่ การว่ายน้ำ การรำมวยจีน หรือถ้าเป็นการเต้นแอโรบิก ก็ควรเป็นท่าเต้นที่ไม่มีการกระโดด เป็นต้น
สำหรับใครที่กังวลว่าตนเองอาจเป็นข้อเข่าเสื่อมแล้วนั้น แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อรับการดูแลที่ถูกต้องแต่เนิ่นๆ เพราะว่าจะทำให้โอกาสหายมีค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามค่ะ เป้าหมายของการรักษาไม่ใช่การทำให้ ข้อเข่าหายเสื่อม เนื่องจากไม่สามารถทำได้ (เปรียบเสมือนการที่ไม่สามารถทำให้คนชรากลับมาเป็นหนุ่มสาวได้อีกครั้ง) แต่หากเป็นการป้องกัน หรือ ชะลอการเสื่อมให้ช้าลงมากที่สุด อันนี้ทำได้ ด้วยการดูแลตัวเอง บางคนอาจจะเสริมด้วยวิตามินแคลเซียม