PCOS คือ อะไร

PCOS คือ อะไร

รู้จักกับภาวะ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome)หรือถุงน้ำในรังไข่

PCOSคือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน , ภาวะฮอร์โมนเพศชายสูง  โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล หรือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง รังไข่จึงมีขนาดโตขึ้น และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยาก โดยมักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก

วิธีป้องกันภาวะ PCOS

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ เลี่ยงแป้งและอาหารไขมันสูง
  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
  • ไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส เพราะความเครียดทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ

PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ คือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง รังไข่จึงมีขนาดโตขึ้น และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยาก โดยมักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก

ปัจจุบันพบว่าผู้หญิงที่เป็น จะมีความผิดปกติ ของฮอร์โมนอยู่หลายตำแหน่ง รวมทั้งที่รังไข่ ซึ่งจะสร้างฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ อาจพบว่ามีระดับเอนไซม์อินซูลินในกระแสเลือดมากกว่าปกติด้วย

พบได้ประมาณร้อยละ 5 – 10 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุตั้งแต่ 18 ถึง 45 ปี

4 อาการของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่

  1. การตกไข่ผิดปกติ ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติและมีบุตรยาก
  2. ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนไม่มาติดต่อกันนานหลายเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมานานและอาจมามากหรือน้อยผิดปกติ
  3. มีภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากการตั้งครรภ์ต้องอาศัยการตกไข่ ซึ่งผู้ป่วย PCOS บางราย อาจมีภาวะไม่ตกไข่ในบางเดือน หรือบางรายอาจไม่ตกไข่เลย จึงส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยาก
  4. มีอาการแสดงถึงภาวะระดับฮอร์โมนเพศชายสูง ฮอร์โมนแอนโดรเจนที่สูงขึ้น ส่งผลต่อลักษณะทางกายภายของผู้ป่วย เช่น มีขนดก ขึ้นตามหน้าและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีสิวขึ้น มากผิดปกติ เสียงเปลี่ยน หรือเป็น โรคศีรษะล้าน ทางพันธุกรรม (Male-Pattern Baldness) ซึ่งทำให้ผมร่วงและผมบาง
← Previous Next →

Tags:

หัวใจ และหลอดเลือด วัยทอง
0 Comment(s)